สกายซิตี (ฉางชา)
สกายซิตี (ฉางชา)

สกายซิตี (ฉางชา)

สกายซิตี้ (จีน: 天空城市) (อังกฤษ: Sky City)[3] เป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกตั้งอยู่ที่เมืองฉางชา มณฑลหูหนาน ประเทศจีน โดยตึกสกายซิติ้จะมีทั้งหมด 221 ชั้น มีระดับความสูงถึง 838 เมตร ซึ่งสูงกว่าตึกเบิร์จคาลิฟา 10 เมตร เมื่อสร้างเสร็จจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยร้อยละ 83 รองรับผู้เข้าอยู่อาศัยได้ถึง 31,400 คน[4] ส่วนพื้นที่ที่เหลือจะใช้เป็นสำนักงาน โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล ห้างขายของ และห้องอาหาร ส่วนการขึ้นลงอาคารจะใช้ลิฟต์ความเร็วสูงราว 104 ตัว [5] โดยตึกถูกออกแบบสร้างโดยกลุ่มวิศวกรและสถาปนิกผู้ผ่านงานสร้างตึก เบิร์จคาลิฟา (Burj Khalifa) และเป็นบริษัท Broad Group ผู้ก่อสร้างเดียวกันกับการประกอบโรงแรม Ark Hotel สูง 30 ชั้น ในมณฑลหูหนานที่ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 15 วัน บริษัท บรอด ซัสเทนเนเบิล บิวดิ้ง คอร์ป บริษัทเจ้าของผลงาน Ark Hotel ของจีน ได้มีแผนงานโครงการ สกาย ซิตี้ ในเมืองฉางชา ริมแม่น้ำเซียงเจียง ในมณฑลหูหนาน ซึ่งตั้งเป้าให้เป็นอาคารสูงที่สุดโลก โดยจะใช้เวลาก่อสร้างเพียง 90 วัน หรือสร้างได้เฉลี่ยวันละ 5 ชั้น [6] แต่ในภายหลังได้มีการปรับเลื่อนขยายระยะเวลาในการประกอบจากที่กำหนดไว้ 90 วัน (3 เดือน) ออกไปเป็น 7 เดือน ซึ่งนับว่าเป็นเวลาที่สั้นมากเมื่อเทียบการก่อสร้างตึกสูงแบบเดิม[5]ในการก่อสร้างสกายซิตีจะใช้เทคนิคก่อสร้างที่ใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูปมาประกอบ (พรีแฟบ-Prefabricated modular) เนื่องจากประหยัดเวลา ไม่ก่อให้เกิดมลพิษจากการก่อสร้าง และลดอัตราการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุของคนงาน เทคนิคแบบนี้จะช่วยลดระยะเวลาก่อสร้างได้มากเพราะไม่ต้องทำหรือก่อทีละชั้นก่อนจึงเริ่มชั้นถัดไป แต่สามารถทำชิ้นส่วนทุกชั้นพร้อมกัน โดยเตรียมจากโรงงานต่างๆในเวลาเดียวกัน และขนส่งมายังสถานที่ก่อสร้างเพื่อยกขึ้นประกอบทีละชั้นๆด้วยทาวเวอร์เครน แต่ความสำคัญอยู่ที่ชิ้นส่วนทุกชิ้นจะต้องมีการออกแบบมาอย่างดี และสร้างขึ้นจากการคำนวณที่ละเอียดแม่นยำก่อนที่จะแยกย้ายให้โรงงานต่างๆผลิตออกมาตรงตามแบบเพื่อนำมาประกอบในพื้นที่ก่อสร้างให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะรวมเวลาของการตกแต่งภายในด้วย ประมาณการณ์ไว้ว่าจะใช้เหล็กราว 220,000 ตัน ในการสร้าง ตัวอาคารออกแบบมาให้ทนต่อแรงแผ่นดินไหวที่ 9.0 แมกนิจูด และทนไฟไหม้ได้นานกว่า 3 ชั่วโมง[7] นอกจากนี้ตึกสกายซิตีจะใช้พลังงานเพียงแค่ 1 ใน 5 ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมดที่ตึกทั่วไปใช้ อีกทั้งยังมีฉนวนกันความร้อนที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อช่วยลดความร้อนสะสมภายในตึกอีกด้วย [2] ส่วนระบบเครื่องปรับอากาศนั้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8]